3 วิธีเก็บกุ้ง ให้สดนาน

กุ้งสด เป็นอะไรที่เน่าเสียง่ายมาก หลายคนประสบปัญหานี้ และทักมาถามกันบ่อย ๆ แอดมี วิธีเก็บกุ้ง ให้สดนาน บ้างไหมคะ ⁉️ บ้างก็ซื้อกุ้งมาเยอะเกินใช้ไม่ทัน…😅 เก็บไม่เป็นบ้าง ลืมบ้าง จนกุ้งหัวดำ เนื้อเละ มีกลิ่นเหม็น 😵‍💫🥴🤢

กินดีอยู่ดี มี 3 วิธีเก็บกุ้ง ให้สดนานเป็นเดือน มาฝากกันค่ะ

วิธีเก็บกุ้ง
  • เริ่มจากล้างกุ้งให้สะอาด
  • คลุกเกลือ เคล้าให้ทั่วเพื่อล้างคราบคาวต่างๆ
  • คลุกเกลือเสร็จก็นำมาแช่น้ำ ประมาณ 5 – 10 นาที
  • ล้างน้ำเกลือออก ให้สะอาดอีกครั้ง

วิธีเก็บกุ้ง

เก็บกุ้งแบบที่ 1

เพียงนำกุ้งใส่ภาชนะ เติมน้ำให้ท่วมตัวกุ้ง แล้วใส่ช่องแช่แข็ง

เก็บกุ้งแบบที่ 2

  • นำกุ้งมาตัดส่วนตรงลูกตาออก เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
  • เติมน้ำตาลทรายลงไปได้เลยค่ะ ปริมาณต้องกะเอาให้พอเคล้าตัวกุ้งได้ทั่ว
  • จากนั้นก็คลุก ๆ เคล้า ๆ จะได้หน้าตาประมาณนี้นะคะ
  • จัดเรียงใส่กล่อง ถ้ารู้สึกว่าน้ำตาลยังไม่ทั่ว สามารถโรยเพิ่มได้นะคะ แล้วใส่ข่องแช่แข็งได้เลยค่ะ

วิธีเก็บกุ้ง

เก็บกุ้งแบบที่ 3

  • แกะเปลือกกุ้งออกให้หมด ดึงเส้นดำออก โดยใช้ไม้จิ้มฟัน งัดตรงหางกุ้ง เพื่อดึงออกค่ะ
  • เติมแป้งมันลงไป ปริมาณให้พอกับตัวกุ้งค่ะ เยอะไปไม่เป็นไรนะคะ ไม่ต้องกังวล จากนั้นเราก็มาคลุกให้เข้ากัน ให้ทั่วตัวกุ้งเลย
  • พักเค้าไว้ประมาณ 15 นาที แล้วนำมาล้างน้ำให้สะอาด
  • แพ็คลงถุงตามความต้องการของเรา ในการหยิบใช้แต่ละครั้งได้เลยค่ะ

นอกจาก วิธีเก็บกุ้ง อย่างไรให้สดนาน มีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ไม่แพ้กัน นั่นก็คือ “การเลือกกุ้งค่ะ” กุ้ง ต้องสดใหม่ ไม่เก่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร กินดีอยู่ดี มีเคล็ดลับการเลือกซื้อ กุ้ง มาให้ด้วยค่ะ

วิธีเก็บกุ้ง

เทคนิคเลือกกุ้ง แบบ 3 ส.

  1. สังเกต หัวกับตัวต้องติดกันแน่น ไม่หลุดออกจากกัน สีกุ้งสดจะเป็นสีฟ้าหรือสีออกเทานิดๆ ใส ไม่ขุ่น มองเห็นเส้นดำ เปลือกไม่เป็นสีดำคล้ำ หรืออมส้มอมเหลือง
  2. สัมผัส เช็คความแน่นของเนื้อกุ้ง โดยใช้มือลองกดเบาๆ เนื้อสัมผัสไม่นิ่มเละ 
  3. สูดดม กลิ่นต้องไม่คาว ปกติอาหารสดจะมีกลิ่นคาวอยู่บ้าง แต่ จะมีกลิ่นคาวที่อยู่ในระดับพอดี กลิ่นไม่แรงมาก หรืออาจไม่มีกลิ่นเลย แต่ถ้ากุ้งไม่สดกลิ่นคาวฉุนแรงกว่าปกติ

วิธีนี้สามารถใช้ได้กับกุ้งทุกชนิดได้เลยนะคะ !!


เรื่องของกุ้ง ที่รู้แล้วไม่กลุ้มแน่นอน

กุ้ง มีหลายชนิด หลายแบบให้เราเลือกรับประทาน ชอบแบบไหนก็เลือกสรรกันได้เลย

กุ้งขาว (กุ้งแวนนาไม)
หรือกุ้งเกษตรขาว หรือแชบ๊วยเกษตร เป็นกุ้งเลี้ยงน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มก็ได้ นิยมเลี้ยงในบ่อดิน ลักษณะตัวกุ้งใสเห็นลำไส้ของกุ้งได้อย่างชัดเจน มีเปลือกค่อนข้างบาง สีออกเทา ตัวลื่นและเล็ก แกะง่าย มีปลายหางสีแดง เนื้อแข็ง เนื้อน้อย ราคาถูก น้ำหนักโดยประมาณ 40 – 130 กรัม ต่อตัว เหมาะกับเมนู กุ้งแช่น้ำปลา กุ้งดอง ทอดมันกุ้ง

กุ้งแชบ๊วย
เป็นกุ้งน้ำเค็มตามธรรมชาติ คล้ายกุ้งขาวแต่ตัวใหญ่ มีสีอมเหลือง ๆ เนื้อสีขาวขุ่น เปลือกหนา แกะง่าย เนื้อหวาน เด้ง และแน่นกว่ากุ้งขาว น้ำหนักโดยประมาณ 50 – 100 กรัมต่อตัว เหมาะกับเมนู กุ้งอบวุ้นเส้น , กุ้งอบเกลือ

กุ้งกุลาดำ (กุ้งลายเสือ)
เป็นกุ้งธรรมชาติอาศัยในน้ำกร่อย หรือ น้ำเค็ม ก็ได้ ลักษณะลำตัวมีลายสีแดง-ดำ ตัวค่อนข้างใหญ่ เนื้อกรอบ แน่น เด้ง น้ำหนักโดยประมาณ 400 – 500 กรัมต่อตัว เหมาะกับเมนู กุ้งเผา , กุ้งอบเกลือ , กุ้งซอสมะขาม

กุ้งก้ามกราม
เป็นกุ้งเลี้ยงน้ำจืด เกิดจากการเพาะพันธุ์ทั้งการเลี้ยงแบบวังกุ้งคือนำลูกกุ้งมาเลี้ยงไว้ในแหล่งธรรมชาติและการเลี้ยงแบบฟาร์มที่เพาะพันธุ์ในบ่อและเลี้ยงในกระชัก ลักษณะของกุ้งก้ามกรามจะตัวค่อนข้างใหญ่ หัวโต มีมันบริเวณหัว ตัวสีเขียวอมฟ้า เนื้อหวาน แน่น น้ำหนักโดยประมาณ 300 – 600 กรัมต่อตัว เหมาะกับเมนู กุ้งเผา ต้มยำกุ้ง

กุ้งแม่น้ำ
เป็นกุ้งธรรมชาติน้ำจืด ตัวใหญ่ ตัวสีเหลืองน้ำตาล ที่หัวมีมันมากกว่ากุ้งก้ามกราม ราคาสูง เนื้อหวาน เหนียว และแน่นกว่ากุ้งก้ามหราม น้ำหนักโดยประมาณ 300 – 600 กรัมต่อตัว เหมาะกับเมนู กุ้งเผา

กุ้งทราย (กุ้งโอคั่ก)
เป็นกุ้งทะเลที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ แบบ 100% ไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ มีเปลือกแข็ง หยาบ เนื้อสีขาวขุ่น ตัวค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของกุ้งแชบ๊วย ที่ปลายหางสีส้มแดง เนื้อแน่น เด้ง หวาน หาซื้อยาก มีกลิ่นค่อนข้างคาว เหมาะกับเมนู กุ้งอบเกลือ , ต้มเค็ม , ผัดฉ่า และติ่มซำ
.
ขอบคุณข้อมูล : my home


Story : เนื้อทอง ทรงสละบุญ
Photo : วาระ สุทธิวรรณ
Style : แชร์ สวนผัก

ช่องทางการติดตามกินดีอยู่ดี
Facebook https://www.facebook.com/KindeeyuudeeTH
Instagram @kindeeyuudeeth
Tiktok @kindeeyuudeeth
ติดตามสูตรอาหารเพิ่มเติมได้ที่นี่