ยำไข่ดาว  

พาทำเมนูไข่ สุดแซ่บ ยำไข่ดาว ขอหน่อยอยากเติมโปรตีนแบบรสจัดจ้าน แบบเครื่องจัดเต็ม พาทำเมนูไข่ สุดแซ่บ ยำไข่ดาว ขอหน่อยอยากเติมโปรตีนแบบรสจัดจ้าน แบบเครื่องจัดเต็ม พร้อมแล้วก็ลุย!!

ยำไข่ดาว  

ส่วนผสม

  • ไข่ไก่ 5 ฟอง
  • น้ำมัน สำหรับทอด
  • หอมแขก 2 หัว
  • ขึ้นฉ่าย 1-2 ต้น
  • พริกแดง 5-10 เม็ด
  • หมูบด 50 กรัม
  • กุ้งลวก 4-5 ตัว

ส่วนผสมน้ำยำ

  • น้ำปลา 4 ช้อนโต๊ะ
  • มะนาว 4 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ

ขั้นตอนการทำ

ทอดไข่ดาว ให้สุก ชอบแบบไข่ขาวกรอบ ๆ ก็จะทอดในน้ำมันเยอะ ๆ และร้อนจัด

หั่นผักเตรียมใส่ลงไปในน้ำยำ มีหอมแขก ขึ้นฉ่าย และมะเขือเทศ

ทำน้ำยำ ปรุงรสด้วยน้ำปลา มะนาว น้ำตาลมะพร้าว และพริกตำ ใส่ลงไป ชิมรสตามชอบ

ใส่ผักที่เตรียมไว้ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ตามด้วยเครื่องของเรา มีหมูบด กับกุ้งลวกสุก

หั่นไข่ดาวเป็นชิ้น ขนาดตามชอบ

ใส่ไข่ดาวลงไปในน้ำยำ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี

พร้อมเสิร์ฟแล้วค่ะ


กินไข่ไก่ ดีอย่างไร?

ไข่ไก่ เป็นแหล่งโปรตีนสมบูรณ์ (Complete Protein) คือมีกรดอะมิโนที่จำเป็น (Essential Amino Acids) อยู่ครบถ้วนในปริมาณที่พอเหมาะ

ไข่ไก่ 1 ฟอง มีน้ำหนักประมาณ 40-60 กรัม เป็นไข่ขาวประมาณ 30-35 กรัม ไข่แดงประมาณ 13-20 กรัม
พลังงาน 143 Kcal. โปรตีน 12.5 g. ไขมัน 9.5 g.

การรับประทานไข่ไก่เป็นส่วนช่วยให้อิ่มยาวนาน เนื่องจากไข่ไก่มีส่วนประกอบไปด้วย ไขมัน โปรตีน ที่สามารถเพิ่มความรู้สึกอิ่ม และยังส่วนในการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี ในไก่ไข่ 1 ฟอง มีโปรตีนสูง ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดี ให้เติบโต และซ่อมแซมร่างกาย ยังมีกรดไขมันฟอสโฟลิพิด (Phospholipid) จะเกิดเป็นสารเลซิทิน (Lecithin) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง จึงเชื่อกันว่าไข่อาจช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมอง และช่วยให้ระบบประสาทแข็งแรงได้ มีงานวิจัยที่แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารโคลีนเพื่อเพิ่มการพัฒนาด้านความทรงจำและการเจริญเติบโตของสมองทารก ซึ่งในไข่ไก่มีโคลีนถึง 251 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม และ ลูทีน ซีแซนทีน มีสารแคโรทีนอยด์ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพดวงตา
.
ข้อควรระวัง
ไข่ไก่ เป็นที่นิยมในการรับประทานกึ่งสุกกึ่งดิบ แต่ความจริงแล้วการดูดซึมโปรตีนจะลดลง จากระดับความดิบของไข่ไก่ และเพิ่มความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ สู่การติดเชื้อ ซาลโมเนลลา (Salmonella) หากท่านมีความต้องการรับประทานไข่ที่ไม่สุก 100 เปอร์เซ็นต์ แนะนำให้เลือกซื้อไข่ที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ จะป้องกันเชื้อได้ในระดับหนึ่ง แต่สำหรับ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ควรหลีกเลี่ยงการทานไข่ดิบโดยไม่จำเป็น

ไข่เก่า Vs ไข่ใหม่ แตกต่างอย่างไร?

เรามีวิธีการเลือกดูอย่างไร ? จึงจะแยกออก

🧐 สังเกตจากลักษณะภายนอก
ไข่ใหม่ : ผิวเปลือกจะมีแป้งขาว ๆ เคลือบอยู่ ผิวขรุขระ ลองเขย่าไข่ดูจะไม่มีเสียง เพราะไข่ใหม่จะแน่นติดเปลือกไม่มีช่องอากาศ
ไข่เก่า : ผิวเรียบมันลื่น เป็นเงา ถ้าเขย่าจะจะมีเสียงที่เกิดจากช่องว่างของอากาศ ระหว่างเปลือกไข่

🧪 ทดสอบโดยการนำไข่แช่น้ำ
ไข่ใหม่ : เมื่อนำไปแช่น้ำ ไข่ใหม่จะจมน้ำ
ไข่เก่า : เมื่อนำไปแช่น้ำ ไข่เก่าจะลอยอยู่สูงกว่าครึ่งนึงของภาชนะ

🍳 ทดสอบด้วยการตอกไข่ออกมา
ไข่ใหม่ : เมื่อตอกไข่ออกมาแล้ว จะเห็นไข่แดงมีลักษณะกลมนูน และมีเยื่อของไข่ขาวเกาะแน่นอยู่ที่รอบไข่แดง
ไข่เก่า : เมื่อตอกไข่ออกมาแล้ว ไข่แดงจะกลม แต่มีลักษณะแบน ไข่ขาวจะเหลวและไม่จับตัวกันเป็นวุ้น หรือเป็นลิ่ม

วิธีการเก็บไข่

  • ถ้าเก็บไว้ในช่องแช่ไข่ ในตู้เย็น ให้วางด้านที่ปลายเรียวลง หงายด้านป้านขึ้น เนื่องจากไข่แดงมีน้ำหนักเบากว่าไข่ขาว ไข่แดงจึงลอยขึ้น แต่โพรงอากาศที่อยู่ด้านป้านจะดันไข่แดงไม่ให้ลอยขึ้นจนไปติดเปลือกไข่ ซึ่งเวลาตอกไข่จะทำให้ไข่แดงแตกง่าย
  • ทาน้ำมันเคลือบเปลือกไข่ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นเอาไว้ ทำแบบนี้เก็บได้เป็นปีเลย แม้ไม่ใส่เข้าตู้เย็น

ข้อมูล ชีวจิต


Story : เนื้อทอง ทรงสละบุญ
Photo : วาระ สุทธิวรรณ


ช่องทางการติดตามกินดีอยู่ดี
Facebook https://www.facebook.com/KindeeyuudeeTH
Instagram @kindeeyuudeeth
Tiktok @kindeeyuudeeth
ติดตามสูตรอาหารเพิ่มเติมได้ที่นี่